วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Application Layer

ความหมาย Application Layer หรือ Process Layer


Application Layer หรือ Process Layer เป็นลำดับชั้นการทำงานของโปรโตคอล TCP/IP ตามมาตฐาน DoD - Reference Model ซึ่งเมื่อนำมาเทียบกับมาตรฐานของ OSI - Reference Model นั้น ในชั้นบนสุดที่เรียกว่า Process Layer ของ DoD - Model จะทำงาน 2 หน้าที่เทียบได้กับ Application Layer และ Presentation Layer ของ OSI - Reference Model ในชั้นนี้จะรองรับการทำงานของ Application ต่าง ๆ อย่างเช่น เมื่อมีเครื่อง Client ขอใช้บริการเพื่อจะติดต่อขอ Download File ผ่านทาง Internet โดยอาจจะเรียกใช้โปรแกรม FTP Client ทั่วไป อย่างเช่นโปรแกรม WS_ftp เพื่อติดต่อกับโปรเซส FTP ที่กำลังให้บริการอยู่ที่เครื่อง Server จากนั้นตัวโปรเซส FTP ก็จะเรียกใช้โปรโตคอล FTP ( File Transfer Protocol ) เพื่อทำการโอนถ่ายไฟล์นี้ไปให้เครื่อง Client เป็นต้น หรือถ้าผู้ใช้ต้องการเรียกใช้งานคอมพิวเตอร์ จากเครื่องที่อยู่ห่างไกลออกไป ด้วยการใช้โปรแกรม Telnet ที่เครื่อง Server ให้บริการ ตัวโปรเซส Telnet ที่ทำงานอยู่ ก็จะเรียกใช้โปรโตคอล Telnet เพื่อติดต่อกัน หรือกรณีที่มีการเรียกใช้โปรแกรม Web Browser เช่น Internet Explorer เพื่อเรียกดูเวบเพจในเวบไซต์ ของ NASA ที่เครื่องให้บริการเว็บของ NASA ก็จะมีโปรเซส HTTP (HyperText Transfer Protocol ) ทำงานอยู่และจะติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรโตคอล HTTP เป็นต้น

เป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการรับส่งข้อมูล ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ โดยจะรับคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้ส่งให้คอมพิวเตอร์แปลความหมาย และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์ เช่นแปลความหมายของการกดปุ่มเมาส์ให้เป็นคำสั่งในการก็อปปี้ไฟล์ หรือดึงข้อมุลมาแสดงผลบนหน้าจอเป็นต้น- เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเข้าไปช่วยในการบริการ เช่น e-mail , ควบคุมการส่งข้อมูล , การแบ่งข้อมูล เป็นต้นยอมให้ user, software ใช้ข้อมูลส่วนนี้เตรียม user interface และ Support service ต่าง ๆเช่น E-mail- ทำ Network virtual Terminal ยอมให้ User ใช้งานระยะไกลได้- File transfer , access และ Management (FTAM)- Mail services- Directory service คือการให้บริการด้าน Data Base



Protocol คืออะไร

Protocol คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ แนวคิดด้านสื่อสารข้อมูล หัวใจในการสื่อสารข้อมูลอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ สื่อสารกันได้อย่างอัตโนมัติ โดยเน้นการสื่อสารที่แตกต่างกันทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรมยี่ห้อหนึ่ง ติดต่อผ่านข่ายสื่อสารไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกยี่ห้อหนึ่ง โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงในระบบสื่อสารที่มาจากหลายบริษัทผู้ผลิต ด้วยแนวคิดนี้ องค์กรว่าด้วยเครื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักกันในนาม ISO จึงได้วางมาตรฐานโปรโตคอลไว้เป็นระดับ เพื่อให้การสื่อสารต่าง ๆ ยึดหลักการนี้และเรียกมาตรฐานโปรโตคอลนี้ว่า OSI PROTOCOL โดยวางเป็นระดับ 7 ชั้น





โปรโตคอล ที่ทำงานและให้บริการก็มี อย่างเช่น

HTTP ( HyperText Transfer Protocol ) HTTP ใช้ในการติดต่อรับส่งข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์(Hypertext) ระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ WWW Server (World Wide Web) โดยที่เอกสารนี้จะอยู่ในรูปแบบที่เขียนในภาษา HTML (HyperText Markup Language) เอกสารแต่ละชิ้น จะสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารชิ้นอื่นได้ ซึ่งเอกสารที่ถูกเชื่อมโยงนี้ อาจจะอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน หรือต่างเครื่องกันก็ได้

FTP ( File Transfer Protocol ) FTP ใช้ในการรับ-ส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายและเครื่อง Server โดยที่เครื่องServer จะต้องมีโปรแกรมให้บริการ FTP (FTP Server) ติดตั้งและทำงานอยู่ เพื่อให้เครื่องลูกข่ายที่รันโปรแกรม FTP Client สามารถเข้ามาขอใช้บริการได้

Protocol DNS ( Domain Name System ) ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลชื่อ Domain Name หรือ ชื่อเว็บไซท์ ทั้งหลายให้เป็นหมายเลย IP Address

protocol UDP ทำหน้าที่นำส่งข้อมูลจากโปรโตคอลประยุกต์ไปยังไอพี ข้อมูลรวบรวมยูดีพีเฮดเดอร์เรียกว่า ยูดีพีดาทาแกรม หรือ ยูสเซอร์ดาทาแกรม




รูปแบบการแสดง Layer ทั้ง7 ชั้น





























ที่มาอ้างอิง


http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://catalyst.washington.edu/help/computing_fundamentals/networking/img/osi_model.jpg&imgrefurl=http://catalyst.washington.edu/help/computing_fundamentals/networking/osi.html&usg=__a6XgEtueA1SF6ZcL4Amo4NIwi4E=&h=423&w=541&sz=97&hl=th&start=3&um=1&tbnid=p47tl2rGH3Q-qM:&tbnh=103&tbnw=132&prev=/images%3Fq%3Dapplication%2Blayer%26hl%3Dth%26sa%3DG%26um%3D1







http://www.bwc.ac.th/pan/m5site/web_site/513/network_computer/CHAPTER/C2.HTML

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

รูปแบบการเชื่อมต่อเครื่อข่าย

การเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
ในระบบเครือข่ายทุกชนิด เทอร์มินอล คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ จะต้องเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งรูปแบบหรือวิธีการเชื่อมต่อจะเป็นตัวกำหนดวิธีการทำงานของอุปกรณ์นั้น ๆ การเชื่อมต่อ พื้นฐานมีอยู่สองแบบ คือ แบบจุด-ต่อ-จุด และแบบเชื่อมต่อหลายจุด


การเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด

-การเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด (Point-to-Point Connection) อาศัยการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเทอร์มินอลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะนำมาใช้ในหลายแบบคือ

-การเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเทอร์มินอลกับเครื่องเมนเฟรมในกรณีที่สามารถเชื่อมต่อได้และมีค่าใช้จ่ายไม่แพงจนเกินไป

-การเชื่อมต่อระหว่างเทอร์มินอลบางเครื่องกับเครื่องเมนเฟรมเมื่อเทอร์มินอลอยู่ไกลออกไปมาก

การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารระบบ ผู้บริหารเครือข่าย หรือโปรแกรมเมอร์ มักจะใช้เทอร์มินอลที่อยู่ใกล้กับเครื่องเมนเฟรมเรียกว่า คอนโซลเทอร์มินอล (Console Terminal)

สำหรับการตรวจสอบการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายจะมีเครื่องที่เรียกว่า คอนโซลเทอร์มินอล จะเชื่อมต่อกับเมนเฟรมแบบจุด-ต่อ-จุด ซึ่งจะช่วยให้การติดต่อเกิดขึ้นได้ทันทีทันใด เหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องการการควบคุมอย่างใกล้ชิด และการติดต่อที่ต้องการส่ง ข้อมูลปริมาณมาก



ภาพที่ 1แสดงระบบเครือข่ายแบบ จุด - ต่อ - จุด

จากภาพแสดงตัวอย่างของระบบเครือข่ายแบบจุด-ต่อ-จุด ที่มีเทอร์มินอลจำนวน 3 เครื่องตั้งอยู่ในสถานที่เดียวกับเครื่องเมนเฟรม และเทอร์มินอลอีกหนึ่งเครื่องตั้งอยู่ไกลออกไปโดยใช้การเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม เนื่องจากสายสื่อสารแต่ละเส้นมีเทอร์มินอลอยู่เพียงเครื่องเดียว โฮสต์จึงทราบตลอดเวลาว่าเทอร์มินอลใดติดต่อเข้ามา และสามารถส่งข้อมูลไปยังเทอร์มินอลที่ต้องการได้เสมอ

การเชื่อมต่อระบบจุด-ต่อ-จุดยังนำไปใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องเมนเฟรมกับเครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ ซึ่งการเชื่อมต่อลักษณะนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ช่องสื่อสาร (Channel) ฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อนำไปส่งยังเครื่องเมนเฟรมในลำดับต่อไป การเชื่อมต่อแบบนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณมากระหว่างกัน

ภาพที่ 2 แสดงการเชื่อมต่อแบบจุด - ต่อ - จุดเข้ากับเครื่องเมนเฟรมและฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์








การเชื่อมต่อแบบหลายจุด

การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multipoint Connections) มีเครื่องโฮสต์หนึ่งเครื่องที่ต้นสายสื่อสาร ส่วนที่ปลายสายจะมีเทอร์มินอลอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมใช้มากกว่าการเชื่อมต่อแบบจุด-ต่อ-จุด อันที่จริงแล้วการเชื่อมต่อของเทอร์นินอลส่วนใหญ่เป็นแบบเชื่อมต่อแบบหลายจุดโดยมีสายสื่อสารเพียงเส้นเดียวติดต่อรับและส่งข้อมูลเข้าที่เครื่องเมนเฟรม สายสื่อสารเส้นเดียวนี้อาจเชื่อมต่อผ่านโมเด็มเพื่อติดต่อกับเทอร์มินอลที่อยู่ไกลออกไป หรือติดต่อกับเครื่องฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ หรือคอนเซ็นเทรเตอร์ เพื่อรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นก่อนที่จะส่งให้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) ทำการประมวลผลในที่สุด

ภาพที่ 3 แสดงสายสื่อสารแบบเชื่อมต่อหลายจุด

การใช้ระบบเครือข่ายแบบเชื่อมต่อหลายจุด ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในส่วนของการเชื่อมต่อแบบจุด - ต่อ - จุดลงได้มากโดยเฉพาะในระบบที่มีเทอร์มินอลระยะไกลติดตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก สมมุติว่าบริษัทแห่งหนึ่งที่สำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ และมีสาขาแห่งหนึ่งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีเทอร์มินอลจำนวน 10 เครื่อง การเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะใช้คอนเซ็นเทรเตอร์ตัวหนึ่งพ่วงเทอร์มินอลทั้งหมดเข้าด้วยกัน แล้วใช้โมเด็มคู่หนึ่งเพื่อติดต่อผ่านสายโทรศัพท์มาเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องเมนเฟรมที่กรุงเทพ เมื่อเปรียบเทียบกับการเชื่อมต่อแบบจุด - ต่อ - จุดแล้ว จะต้องใช้โมเด็มจำนวน 10 คู่พร้อมสายโทรศัพท์ 10 คู่สาย เพื่อเชื่อมต่อเทอร์มินอลทั้งหมดกับเมนเฟรมซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากทีเดียว





ภาพที่ 4 แสดงระบบเครือข่ายแบบเชื่อมต่อหลายจุด

โครงสร้างการเชื่อมต่อ

เครือข่ายแบบบัส (bus topology)
เครือข่ายแบบบัส เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องใช้อุปกรณ์สลับสาย การเชื่อมต่อมีลักษณะเป็นแบบหลายจุด สถานีทุกสถานีรวมทั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียว เรียกว่า แบ็กโบน (backbone) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลลงบนบัส จึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ผ่านสายแบ็กโบนนี้ การจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน

ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส
ข้อดี
1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
ข้อเสีย
1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้ การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด

เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology)

เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology) เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด เช่นเดียวกับแบบดาว โดยแต่ละสถานีจะต่อกับสถานีที่อยู่ติดทั้งสองของตนเอง และทุกสถานีมีเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง หรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วยในกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายใด

ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีรูปวงแหวน

ข้อดี
การส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ สถานีพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล เครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีจะตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่สถานีตนเองหรือไม่
การส่งข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล
ข้อเสีย
ถ้ามีสถานีใด สถานีหนึ่งเกิดเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังสถานีต่อไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้ง เครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสาร
เมื่อสถานีหนึ่งต้องการส่งข้อมูล สถานีอื่น ๆ ต้องมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เสียเวลา

เครือข่ายแบบดาว (star topology)

เป็นการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมาเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเซริ์ฟเวอร์ (Server) โดยติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง (HUB) ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านหน่วยสลับสายกลาง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการควบคุมการติดต่อระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายทั้งหมด

ข้อดีของเครือข่ายแบบดาว

1. สะดวก ง่ายต่อการตรวจสอบการทำงานของระบบโดยรวม

2. หากเครื่องคอมพิวเตอร์สถานีงานหนึ่งเสีย เครื่องอื่น ๆ สามารถใช้งานได้ตามปกติ

3. มีความเป็นระเบียบ

ข้อเสียของเครือข่ายแบบดาว

1. อัตราเร็วในการส่งข้อมูลช้า ( 4 Mbps)

2. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของสายสัญญาณ

3. การขยายระบบจะขึ้นอยู่กับจุดควบคุมส่วนกลาง

4. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เซริ์ฟเวอร์เสีย เครือข่ายจะไม่สามารถทำงานได้

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (hybrid topology)

เป็นโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานความสามารถของโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ แบบรวมกัน ประกอบด้วยเครือข่าย คอมพิวเตอร์ย่อยๆ หลายเครือข่ายที่มีโครงสร้างแตกต่างกันมาเชื่อมต่อกันตามความเหมาะสม ทำให้เกิดเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารข้อมูล

ข้อดี

1.รองรับการทำงานของอุกรณ์จากผู้ผลิตที่แตกต่างกัน

2.นำส่วนดีจากโพโลยีต่างๆมาใช้

ข้อเสีย

1.มีค่าใช้จ่ายสูง

2.เครือข่ายมีความซับซ้อน

โครงสร้างแบบต้นไม้ (Tree Topology)

มีลักษณะเชื่อมโยงคล้ายกับโครงสร้างแบบดาวแต่จะมีโครงสร้างแบบต้นไม้ โดยมีสายนำสัญญาณแยกออกไปเป็นแบบกิ่งไม่เป็นวงรอบ โครงสร้างแบบนี้จะเหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่มจะประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับต่างๆกันอยู่หลายเครื่องแล้วต่อกันเป็นชั้น ๆ ดูราวกับแผนภาพองค์กร แต่ละกลุ่มจะมีโหนดแม่ละโหนดลูกในกลุ่มนั้นที่มีการสัมพันธ์กัน การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม และรับส่งข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะส่งข้อมูลได้ทีละสถานีโดยไม่ส่งพร้อมกัน

ข้อดี

1. รองรับการขยายเครือข่ายในแต่ละจุด

2. รองรับอุปกรณ์จากผู้ผลิตที่แตกต่างกัน

ข้อเสีย

1.ความยาวของแต่ละเซ็กเมนต์อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายสัญญาณที่ใช้

2.หากสายสัญญาณแบ๊กโบนเสียหาย เครือข่ายจะไม่สามารถสื่อสารกันได้

3.การติดตั้งทำได้ยากกว่าโพโลยีแบบอื่น

ที่มา : G:\unit_3\index\index.htm

http://203.154.140.2/ict1/5/page_5.htm

http://203.154.140.2/ict1/5/page_6.htm

http://www.phusang.ac.th/elearning/html.file/teacher/occu/learnonline/p11.htm

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สื่อกลางในการส่งข้อมูล

การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลโดยผ่านช่องทางหรือสื่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกันด้วยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม (TELECOMMUNICATION) เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล
ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมจะส่งข้อมูลผ่านสื่อหรือตัวกลาง เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนจากภายนอก โดยการเปลี่ยนข้อมูลเป็นสัญญาณหรือรหัส เมื่อถึงปลายทางจะต้องถอดรหัส (สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) เพื่อให้ผู้รับเข้าใจข้อมูลที่ถูกส่งมาถึง
การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ราคาไม่แพงมาก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้มีการขยายปริมาณการใช้เพิ่มขึ้น มีการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สำนักงานใหญ่ เพื่อเรียกใช้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยการเชื่อมเข้ากับโปรเซสเซอร์ของคอมพิวเตอร์หลัก ผ่านซอฟต์แวร์หลักที่เรียกว่า อุปกรณ์อินเตอร์เฟซ (INTERFACE) โดยใช้สายโทรศัพท์เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดข้อมูล


1.สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้ หรือระบบใช้สาย
สายคู่ตีเกลียว (Twisted Pair)
สายโคแอกเชียล (Co-axial Cable
สายใยแก้วนำแสง (Optic Fiber Cable)
สายคู่ตีเกลียว (Twisted Pair)



รูปที่ 1 สายคู่ตีเกลียวแบบไม่มีชิลด์



รูปที่ 2 สายคู่ตีเกลียวแบบมีชิลด์
ลักษณะของสายคู่ตีเกลียว
สายคู่ตีเกลียวแต่ละคู่ทำด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้ม พันกันเป็นเกลียว เพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสายคู่ตีเกลียว 1 คู่ ใช้แทน 1 ช่องทางการสื่อสารสามารถใช้ส่งสัญญาณได้ทั้งสัญญาณอนาล็อกและสัญญาณดิจิตอล


ประเภทของสายคู่ตีเกลียว

สายคู่ตีเกลียวที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สายคู่ตีเกลียวชนิดไม่มีฉนวนโลหะหุ้ม (UTP)
- ในสายเคเบิล 1 เส้น ประกอบด้วยสายคู่ตีเกลียว 4 คู่ (8 เส้น)
- เหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มีระยะห่างไม่เกิน 30 เมตร
2. สายคู่ตีเกลียวชนิดมีฉนวนโลหะหุ้ม (STP)
- ในสายเคเบิล 1 เส้น ประกอบด้วยสายคู่ตีเกลียว 4 คู่ (8 เส้น)
- สายเคเบิลแต่ละเส้นหุ้มด้วยฉนวนโลหะ เพื่อป้องกันการรบกวนจากภายนอก
- สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 150 bps


วิธีการใช้งานของสายคู่ตีเกลียว
- การนำสารยคู่ตีเกลียวมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่าย ปลายสายแต่ละข้างจะต้องใช้คอนเน็กเตอร์ที่มีลักษณะคล้ายกับใช้คอนเน็กเตอร์ของสายโทรศัพท์เรียกว่า RJ-45
- การเชื่อมต่อคอนเน็กเตอร์ ทำได้ 2 รูปแบบคือ
1. สายคู่ตีเกลียวที่ไช้เชื่อมต่อระหว่างฮับกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ปลายด้านหนึ่งต้องต่อกับคอนเน็กเตอร์อาร์เจ-45 ตามมาตรฐาน EIA/TIA 568B
2.สายคู่ตีเกลียวที่ไช้เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทั้งสองด้านต้องต่อกับคอนเน็กเตอร์ อาร์เจ-45 ตามมาตรฐาน EIA/TIA 568B ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งต้องต่อกับคอนเน็กเตอร์อาร์เจ-45 ตามมาตรฐาน EIA/TIA 568A

ข้อดีของสายคู่ตีเกลียว
-ราคาถูก
- ง่ายต่อการใช้งาน


สายโคแอกเชียล (Co-axial Cable)


รูปที่ 3 สายโคแอกเชียล
ลักษณะของสายโคแอกเชียล สายโคแอกเชียล 1 เส้นประกอบด้วย
-เส้นลวดทองแดงอยู่ตรงกลางเพื่อใช้เป็นตัวนำสัญญาณ
- ชั้นที่ 1 หุ้มด้วยพลาสติก
- ชั้นที่ 2 หุ้มด้วยฉนวนโลหะที่ถักทอเป็นตาข่าย - ชั้นที่ 3 (ชั้นนอกสุด) หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก
- มีแบนวิดสูงถึง 500 MHz
- สามารถใช้ส่งสัญญาณได้ทั้งสัญญาณดิจิตอลและสัญญาณอนาล็อก

ประเภทของสายคู่ตีเกลียว

สายโคแอกเชียลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สายโคแอกเชียลประเภท 50 โอห์ม ใช้สายส่งข้อมูลดิจิตอล
- สายโคแอกเชียลประเภท 75 โอห์ม ใช้สายส่งข้อมูลอนาล็อก

วิธีการใช้งานของสายโคแอกเชียล
- การนำสายโคแอกเชียกเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่ายปลายสายแต่ละข้างจะต้องใช้คอนเน็กเตอร์ที่มีลักษณะคล้ายกับคอนเน็กเตอร์ของสายทีวีเรียกว่า บีเอ็นซี

ข้อดีของสายโคแอกเชียล
- สามารถใช้งานได้ในระยะทางไกล
- ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี ข้อเสียของสายโคแอกเชียล
- ราคาแพง
- สายมีขนาดใหญ่
- การติดตั้งคอนเน็กเตอร์ทำได้ยาก

สายใยแก้วนำแสง ( Optic Fiber Cable )

ลักษณะของสายใยแก้วนำแสง

สายใยแก้วนำแสง ประกอบด้วย

- แกนนำแสงซึ่งทำด้วยแก้ว เรียกว่าท่อใยแก้วนำแสง มีขนาดเล็กมากประมาณเท่าเส้นผม แกนนำแสง 1 อัน ประกอบด้วยท่อใยแก้วนำแสงจำนวนมาก เช่น ถ้ามีท่อใยแก้วนำแสง 10 อัน เรียกว่าสายใยแก้วนำแสง 10 Core

- แก้วสำหรับท่อหุ้มแกนนำแสง เรียกว่า Reflective Cladding - วัสดุท่อหุ้มภายนอก เรียกว่า Protection Buffer

การส่งข้อมูล สัญญาณของข้อมูลดิจิตอล ( 0 และ 1 ) จะถูกแปลงเป็นสัญญาณแสงที่มีความเข้มของแสงต่างระดับ
ประเภทของสายใยแก้วนำแสง สายใยแก้วนำแสงที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

- Multi Mode Step Index ใช้หลักการให้แสงสะท้อนด้วยมุมต่าง ๆ จนถึงปลายทาง ราคาไม่แพง ประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลปานกลาง

- Graded Index Multi Mode ใช้หลักการทำให้เกิดจุดรวมของการสะท้อนแสง ประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลดีกว่า Multi Mlde Step Index

- Single Modeเป็นสายใยแก้วนำแสงทีมีความเร็วในการส่งข้อมู่ลมากที่สุดโดยใช้หลักการส่งสัญญาณแสงออกไปเป็น เส้นตรงไม่มีการสะท้อนของแสง


วิธีการใช้งานของสายใยแก้วนำแสง การนำสายใยแก้วนำแสงมาใช้งาน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ

- การส่งข้อมูล จะต้องมีอุปกรณ์กำเนิดแสง เพื่อทำการแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณแสง - ตัวกลาง หรือแกนนำแสง ทำหน้าที่ส่งผ่านสัญญาณข้อมูล

- การรับข้อมูล จะต้องมีอุปกรณ์ตรวจรับแสง ทำการแปลงสัญญาณแสงให้เป็นกระแสไฟฟ้าเหมือนเดิม

ข้อดีของสายใยแก้วนำแสง
- มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา

- มีค่าแบนด์วิดธ์สูง ซึ่งมีผลทำให้อัตราความเร็วการส่งข้อมูลสูงด้วย

- มีความทนทานต่อคลื่นรบกวนภายนอกสูง

- การสูญเสียกำลังของสัญญาณมีน้อยกว่าสื่อกลางชนิดอื่น ๆ - สามารถติดตั้งและใช้งานในที่มีอุณหภูมิต่ำหรือสูงมาก ๆ ได้

ข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง

- ราคาแพง

- สายใยแก้วนำแสงมีความเปราะบาง แตกหักง่าย


สื่อแบบมีสาย

การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย เหมือนกับระบบแลน (LAN) มีสายปกติ แตกต่างที่อุปกรณ์ทางกายภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายไม่ต้องใช้สายสัญญาณแต่อย่างใด โดยการใช้งานเครือข่ายไร้สายสามารถใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เหมือนเครือข่ายมีสายได้ปกติ เว้นแต่ว่าผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้นๆ จะปิดบริการบางบริการเพื่อความปลอดภัยของเครือข่ายได้เช่นกัน ซึ่งการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายช่วยให้การเชื่อมต่อง่ายขึ้น ประหยัดค่าสายสัญญาณ และใช้งานได้ทุกที่ที่สัญญาณเครือข่ายไร้สายไปถึง...

สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ หรือระบบไร้สาย
1. คลื่นไมโครเวฟ

2. แสงอินฟาเรด

3. ระบบสื่อสารวิทยุ

4. ระบบดาวเทียม

5. บลูทูธ

คลื่นไมโครเวฟ


ลักษณะของคลื่นไมโครเวฟ
- การรับ
- ส่ง สัญญาณข้อมูลของคลื่นไมโครเวฟ ใช้จานสะท้อนรูปพาลาโบลา
- การส่งสัญญาณข้อมูลจะทำการส่งต่อ ๆ กันไป จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานหนึ่ง ซึ่งการส่งสัญญาณข้อมูลระหว่างสถานี สัญญาณข้อมูลจะเดินทางเป็นเส้นตรง
- สถานีหนึ่ง ๆ ครอบคลุมพื้นที่ในการรับสัญญาณได้ 30
- 50 กิโลเมตร
- ใช้ความถี่ในการส่งข้อมูลในช่วง 2 -40 GHz โดยที่ความถี่ในช่วง 2.40 - 2.484 GHz ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย


ข้อดีของคลื่นไมโครเวฟ
- เป็นระบบไร้สายจึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสาย
- ไม่มีปัญหาเรื่องสายขาด
- มีค่าแบนด์วิดธ์สูง ซึ่งมีผลทำให้อัตราความเร็วการส่งข้อมูลสูงด้วย

ข้อเสียของคลื่นไมโครเวฟ
- เป็นสื่อกลางที่ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
- ค่าติดตั้งจานและเสาส่งมีราคาแพง
- การใช้งานต้องขอใช้ความถี่จากองค์กรควบคุมการสื่อสาร แสงอินฟาเรด
ลักษณะของแสงอินฟาเรด
- ใช้ในการสื่อสารข้อมูลระยะใกล้ ๆ เท่านั้น
- นิยมใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่าง 2 อุปกรณ์เท่านั้น
- มีอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลไม่สูง ประมาณ 4 Mbps
ข้อดีของแสงอินฟาเรด
- ราคาถูก สามารถใช้งานโดยไม่ต้องขอใช้ความถี่จากองค์กรควบคุมการสื่อสาร

ข้อเสียของแสงอินฟาเรด
- แสงอินฟาเรดไม่สามารถผ่านวัตถุทึบแสงได้
- แสงอินฟาเรดถูกรบกวนด้วยแสงอาทิตย์ได้ง่าย
ระบบสื่อสารวิทยุ ( Radio Link )
ลักษณะของระบบสื่อสารวิทยุ
- ระบบสื่อสารวิทยุ 1 ช่องสัญญาณ สามารถใช้ได้กับหลายสถานี
- ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณข้อมูลในช่วง 400 - 900 MHz
ข้อดีของระบบสื่อสารวิทยุ
- สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องของใช้ความถี่จากองค์กรควบคุมการสื่อสาร
- สามารถส่งสัญญาณข้อมูลกับสถานีเคลื่อนที่ได้
- มีค่าแบนด์วิดธ์สูง
ข้อเสียของระบบสื่อสารวิทยุ
- เป็นสื่อกลางที่ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
- ความปลอดภัยของข้อมูลต่ำ

ระบบดาวเทียม


ลักษณะของระบบดาวเทียม

- การทำงานของระบบดาวเทียมคล้ายกับคลื่นไมโครเวฟ

- การส่งสัญญาณข้อมูลจากภาคพื้นดินไปยังดาวเทียม เรียกว่า สัญญาณอัปลิงค์

- การส่งสัญญาณข้อมูลจากระบบดาวเทียมมายังพื้นดิน เรียกว่า สัญญาณดาวน์ลิงค์

- การสื่อสารข้อมูลโดยใช้ระบบดาวเทียมมีอุปกรณ์ เรียกว่า Transponder ทำหน้าที่รับ - ส่ง



Bluetooth BLUETOOTH



ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น
(Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset บนโทรศัพท์มือถือด้วย














อ้างอิง
ที่มา : http://comschool.site40.net/data2.htm
ที่มา : http://learners.in.th/file/jutamart_koy/51334673.ppt